เพื่อนบ้านเสียงดังแก้ปัญายังไงดี
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัยอย่างมากก็คือ เพื่อนบ้าน และหนึ่งในปัญหายอดฮิต คือ เสียงดังรบกวน พบบ่อยกับบ้านแบบทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด และคอนโด เพราะใช้กำแพงหรือส่วนหนึ่งของโครงสร้างร่วมกันเพราะฉนั้นยัไงไงก็ได้รับผลกระทบแน่นอนเมื่อมีเสียงรบกวน ประเภทปัญหาเสียงดังรบกวนจากเพื่อนบ้านกัน
เพื่อนบ้านพูดเสียงดัง
การพูดเสียงดังไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการความสงบ ที่แย่ไปอีกขั้น คือ เพื่อนบ้านที่มีนิสัยพูดเสียงดังเป็นปกติและไม่คิดว่ามันเสียงดังเพราะเขาชินขิงเขาไปแล้ว หรือเสียงดังจากการทะเลาะกัน ปาของลงพื้นก็สะเทือนไปทั้งบ้านก็มี
มีน้ำใจเปิดเพลงเปิดทีวีเผื่อแผ่
คนเรานั้นชอบไม่เหมือนกัน ถ้าเพื่นบ้านเกิดรายการหรือเพลงที่ถูกใจถูกจังหวะก็อาจจะไม่เป็นไร แต่ถ้าเสียงที่เผื่อแผ่เรามานั้นเป็นเสียงที่เราไม่ชอบแล้วล่ะก็นรกชัดๆ เช่น เปิดทีวีเสียงดังในวันที่คุณอยากนอน
ปาร์ตี้กันสุดเหวี่ยง
นานๆทีมีหนคงจะไม่เป็นไรแต่ถ้าบ่อยๆก็อาจจะเป็นปัญหา การสังสรรค์ มีทั้งแบบกินข้าวพูดคุยจนถึงตั้งวงเหล้า พอเหล้าเข้าปาก ดีกรีความดังก็จะดังขึ้นไปอีก นอกจากไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของคนอื่นแล้ว บางทีโต้รุ่ง ยันคุณออกไปทำงานเลยทีเดียว
ซ่อมหรือต่อเติมบ้านอย่างอึกทึกครึกโครม
อันนี้เลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่เกิดเสียงหากต้องซ่อมแซมหรือต่อเติมบ้าน และถ้าคุณมีเพื่อนบ้านจอมป่วน อาจจะไม่ได้รับแจ้งล่วงหน้าให้เตรียมตัว และที่แย่ไปกว่านั้น คือ ยังดำเนินการกันช่วงเช้าตรู่หรือช่วงมืดค่ำ ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนด้วย
การเจรจาพูดคุยกับเพื่อนบ้านเพื่อขอความร่วมมือไม่ส่งเสียงดัง
1. หาตัวช่วยป้องกันเสียงดังเข้ามาในบ้าน
ถึงจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ป้องกันที่บ้านตัวเอง แต่นั่นก็เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ไม่กระทบกระทั่งกันเพราะเราเป็นคนถอยเอง มาดูกันว่าวิธีช่วยกันเสียงวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือลดความดังของเสียง ได้แก่
ใช้วัสดุดูดซับเสียง เช่น ผ้าม่านหนาๆ แผ่นดูดซับเสียง อาจจะติดติดตั้งเฟอร์นิเจอร์แบบบิวท์อิน การสร้างตู้เสื้อผ้า ตู้เก็บของ ชั้นวางของให้ติดผนังที่ติดกับเพื่อนบ้าน เพราะมันสามารถลดเสียงและหักเหเสียงไปได้มาก นอกจากนั้นให้ปิดช่องโหว่ต่างๆไม่ให้เสียงเข้ามา เช่น หน้าต่างแบบบานเปิด หรือบานกระทุ้ง สำหรับประตูนั้น ควรหาแผ่นโฟม แผ่นยาง หรือแผ่นซิลิโคนมาติดใต้ประตูเพื่ออุดช่องว่างระหว่างบานประตูกับพื้น ส่วนเตียงนอนและโต๊ะทำงานให้อยู่ห่างจากผนังหรือมุมห้อง ภายนอกบ้านนั้นให้ปลูกต้นไม้รอบบ้าน ต้นไม้ช่วยป้องกันหรือสะท้อนเสียงที่จะเข้ามาในบ้านให้ออกไปได้ ในกรณีที่อยู่อาศัยในคอนโด อาจตกแต่งคอนโดด้วยต้นไม้จริงที่ระเบียง จะเพราะน่าจะเป็นที่ๆสามารถปลูกได้ผลดีมากที่สุด
2. เจรจาขอความร่วมมือ
หากเสียงดังมากจริงๆ จนข้อแรกที่แนะนำไปนั้นไม่ได้ผล และดูแล้วเพื่อนบ้านน่าจะสามารถพูดคุยกันได้ ก็ขอให้เพื่อนบ้านช่วยลดเสียงลง แต่ไม่ควรหักดิบด่า หรือใช้น้ำเสียงแกมบังคับ ถึงแม้ว่าเขาจะผิดจริงๆแต่เรื่องแบบนี้อาจจะกลายเป็นปัญหาในอนาคตได้
3. ขอความช่วยเหลือจากนิติบุคคลกรณีคอนโดและหมู่บ้านจัดสรร
จากข้อที่สองถ้าเข้าไปคุยด้วยดีแล้วไม่ได้ผล ควรไปร้องเรียนกับนิติบุคคล เพราะว่ากรณีแบบนี้ควรมีคนตัดสินให้ไปเลย ซึ่งนิติบุคคลหรือส่วนกลางหมู่บ้านมีหน้าที่ดูแลปัญหาภายในคอนโดหรือหมู่บ้านจัดสรรที่คุณอยู่อาศัย นิติบุคคลจะได้เข้าไปแก้ไขหรือเจรจาให้คุณ
4. ขอความช่วยเหลือจากตำรวจ
ถ้าทำทั้งสามข้อแล้วเกินจะเยีบวยาเพื่อนบ้านแบบนี้มีก็เหมือนไม่มีไม่จำเป็นต้องคบใว้ ก็พึ่งกฏหมายได้เลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421 ผู้ที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นในด้านชีวิต ร่ายกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในกรณีนี้ถือว่า เพื่อนบ้านได้ส่งเสียงดังรบกวนการพักผ่อนอันมีผลต่อสุขภาพอนามัยและละเมิดสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างสงบนั้น ศาลสามารถออกคำสั่งให้เพื่อนบ้านหยุดพฤติกรรมเสียงดังได้ และเพื่อนบ้านก็ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากเกิดความเสียหาย
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 370 ผู้ที่ส่งเสียงดังอันไม่มีเหตุอันสมควรและทำให้บุคคลอื่นเดือดร้อน มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และตามมาตรา 371 หากเป็นการส่งเสียงดังที่คุกคามต่อคนจำนวนมาก มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จากทั้งหมด 4 ข้อไล่มาตั้งแต่ข้อที่หนึ่งจะเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาจากเบาไปหนักนั่นเอง เพราะการอยู่อาศัยร่วมกันหมู่มาก ก็ต้องพึ่งพาอาศัยกันการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมีเพื่อนบ้านคอยดูแลความปลอยภัย พูดคุยกันยามเหงา ดีกว่าการที่จะอยู่ตัวใครตัวมันแน่นอน ฉนั้นแล้วถ้าไม่สุดๆจริงๆ แค่ข้อหนึ่งและสองก็น่าจะเพียงพอกับการแก้ปัญหานี้แล้วล่ะครับ